“ กองก๋อย ” มีที่มาจากภาษาที่ใช้เรียกข้างของคนลัวะ ซึ่งเป็นคนพื้นถิ่นยุคแรก ๆ ที่อาศัยในตำบล คนลัวะเลี้ยงช้างเพื่อใช้ในการบรรทุกของ และเดินทาง คนลัวะนิยมนำช้างมาอาบน้ำบริเวณลำห้วย และเรียกช้างให้มารวมกันด้วยคำว่า “ ก๋อย ก๋อย ” จึงเป็นที่มาของตำบลกองก๋อย
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านกองก๋อย
แต่เดิมมานั้น หมู่บ้านกองก๋อย มีชื่อว่า “ บ้าน ก๊องก่อย ” ซึ่งเป็นภาษาชาวไทยละว้า มีความหมายตรงกับภาษาไทยว่าคล้องค่อย ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับเขตการปกครองของอำเภอแม่สะเรียง เป็นระยะเวลาประมาณ 100 กว่าปีมาแล้ว และเมื่อปีพุทธศักราช 2527 ตำบลกองก๋อยได้แยกตัวออกมาจากเขตการปกครองของอำเภอแม่สะเรียงแล้วมาขึ้นกับ กิ่งอำเภอสบเมย และได้รับการแต่งตั้งเป็นอำเภอสบเมยเมื่อปี พ.ศ. 2537 แรกเริ่มเดิมทีหมู่บ้านเป็นป่าดงดิบ และป่าส้มป่อย เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด โดยเฉพาะช้าง เพราะเป็นหุบเขาที่ราบ มีลำห้วยไหลผ่านสองสาย ชาวบ้านจะมาจับช้างป่าในแถบนี้ไปใช้งานเป็นประจำ ต่อมาได้มีช้างเผือกเชือกหนึ่งเกิดขึ้นในป่าแห่งนี้ ข่าวได้แพร่กระจายจากชาวบ้านที่มาจับช้างเป็นประจำนั้น จนข่าวทราบถึงขุนหลวงแม่ละก๊ะ ซึ่งเป็นหัวหน้าของชนชาวลั๊วะ ที่อาศัยอยู่ในดินแดนแคบลุ่มแม่น้ำสาละวิน ถึงแม่น้ำปิง แต่ดินแดนแถบนี้ขึ้นกับหัวเมืองเชียงใหม่ ได้รวมกับบริวารมาจับช้าง ณ ที่แห่งนี้ เมื่อพบแล้วจึงช่วยกันกระเต๊าะเข้ามา ( ต้อนเข้ามา ) ต่อมาที่แห่งนี้ก็คือบ้านกองต๊อกในปัจจุบัน เมื่อกระเต๊าะเข้ามา ก็ได้ถึงกองแหนบ ( กองหนีบหรือหนีบเข้ามาต่อมาได้ชื่อว่าห้วยกองแหนบ) ก็มีการโยงเชือกหรือโยงขันขึ้นครูแล้วถึงจะจับ ก่อนที่จะจับขุนหลวงแม่ละก๊ะได้พูดกับบริวารว่า “ ก๊อง ก่อย ก่อย “ (เป็นภาษาชาวไทยละว้า) จนได้ช้างเผือกเชือกนั้นในที่ป่าแห่งนี้
ต่อมาขุนหลวงแม่ละก๊ะ ได้นำช้างเผือกเชือกนี้ ไปถวายเจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้แวะเอาช้างอาบน้ำที่หนองอาบช้าง จนได้ชื่อว่า บ้านหนองอาบช้าง และได้นำช้างเผือกเชือกนี้เข้าไปที่ประตูช้างเผือก จนได้ชื่อว่าประตูช้างเผือกของจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าเมืองเชียงใหม่จึงพระราชทานความดีความชอบ ด้วยการพระราชทานที่ดินตั้งแต่แม่น้ำสาละวินถึงแม่น้ำปิงฝ่ายใต้ ให้แก่ขุนหลวงแม่ละก๊ะ พร้อมนี้ได้แต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองหัวเมืองนี้จนสิ้น ตามคำขอของขุนหลวงแม่ละก๊ะ ที่ว่าช้างเผือกเชือกนี้หากินถึงที่ไหนขอที่ดินถึงที่นั้น
ดังนั้นแต่เดิมบ้านกองก๋อยจึงได้ชื่อว่า “ บ้านก๊อง ก่อย ” จากคำขอของขุนหลวงแม่ละก๊ะที่บอกว่า “ ก๊อง ก่อย ก่อย “ ต่อมาคำว่า ก๊องก่อย จึงเพี้ยนมาเป็น กองก๋อย ในปัจจุบัน
สอบถามข้อมูลจาก พ่อหลวงหลี ซอนคำ ปัจจุบันอายุ 85 ปี
เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. ใดไม่ปรากฏแน่ชัด หรือเมื่อประมาณ 160 ปีมาแล้ว
คนกลุ่มแรกที่มาเริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน/ชุมชนมีใครบ้าง
- ครอบครัวแรกที่มาตั้งชุมชนบ้านกองก๋อยคือครอบรัวของพ่อเฒ่าคำมา ที่เข้ามาสร้างที่อยู่อาศัย ประมาณ 5 หลังคาเรือน สภาพพื้นที่เมื่อก่อนเป็นป่าส้มป่อย
- คนกลุ่มต่อมาคือครอบครัวของท้าวอ้าย ปิ่นญาติ ซึ่งอพยพมาจากเมืองละกร (ซึ่งปัจจุบันเป็นจังหวัดลำปาง) และเป็นผู้นำชุมชนคนแรกของชุมชนบ้านกองก๋อย
- คนกลุ่มต่อมาครอบครัวของแคว่นตุ้ย ปิ่นญาติ ซึ่งเป็นน้องชายของท้าวอ้ายและต่อมาได้เป็นผู้นำชุมชนบ้านกองก๋อยต่อจากท้าวอ้าย ปิ่นญาติ
- คนกลุ่มต่อมาครอบครัวของแคว่นหมานบุรี ซึ่งเป็นชาวก้อ
คนกลุ่มแรกที่มาตั้งหมู่บ้าน/ชุมชนนี้อพยพมาจาก บ้านแม ตำบลสันป่าตอง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่คือครอบครัวของพ่อเฒ่าคำมาและญาติพี่น้องประมาณ 5 หลังคาเรือนอพยพเข้ามาอยู่เป็นกลุ่มแรกในบ้านกองก๋อย ซึ่งย้ายมาจากบ้านแม สันป่าตอง (บ้านลั๊วลืมกำ หรือลั้วน้ำโต๋มหรือบ้านน้ำต้นในปัจจุบัน)
เหตุที่แต่ละกลุ่มอพยพมาจากบ้านเดิมเพราะอะไร
สาเหตุที่ชุมชมกลุ่มพ่อเฒ่าคำมา ท้าวอ้าย แคว่นตุ้ย หมานบุรี อพยพจากบ้านเดิมเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านกองก๋อยเพราะว่าบ้านเดิมชุมชนได้ขยายขึ้นและเริ่มแออัดจึงทำให้เกิดการแสวงหาสถานที่ทำมาหากินใหม่และมาพบที่ราบลุ่มที่มีแม่น้ำไหลบ้านและมีป่าที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งมีทั้งสัตว์ป่าและอาหารุดมสมบูรณ์ จึงได้ลงหลักปักฐานเป็นชุมชนเล็ก ๆ ต่อมาจึงมีผู้อพยพเข้ามาเรื่อย ๆ จึงเป็นชุมชนที่ใหญ่มากขึ้น จึงได้ตั้งเป็นหมู่บ้านกองก๋อยในปัจจุบัน
สภาพทางภูมิศาสตร์ของบ้าน/ชุมชนนี้ ก่อนที่จะตั้งหมู่บ้าน / ชุมชนเป็นอย่างไร (เช่น เป็นป่า เป็นทุ่งหญ้า หนองน้ำ) แรกเริ่มเดิมทีหมู่บ้านกองก๋อยเป็นป่าดงดิบและป่าส้มป่อย และเป็นป่าไม้เบญจพรรณ และเป็นที่ราบหุบเขา มีลำน้ำไหลผ่าน 2 สาย และมีลำห้วยไหลผ่านหลายสาย
ปัจจุบันป่าหรือหนองน้ำหรือห้วยที่เคยมีในอดีตยังคงมีอยู่หรือไม่ ถ้าหมดไปเพราะเหตุใดจึงหมดไปปัจจุบันสภาพป่ายังคงมีเหลืออยู่เป็นป่าเบญจพรรณและป่าต้นน้ำที่ทางหมู่บ้านรักษาไว้ประมาณ 10 % ของพื้นที่ทั้งหมดของบ้านกองก๋อย ส่วนแม่น้ำสองสายที่ไหลผ่านยังมีอยู่ คือแม่น้ำแม่ลิดและแม่โถ ซึ่งสภาพของแม่น้ำจะตื้นเขินในหน้าแล้งเนื่องจากมีทรายและตะกอนไหลมาทับถมมากจากการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำไร่ ส่วนลำห้วยยังมีอยู่
อาชีพครั้งแรกของราษฎรที่อพยพมาอยู่หมู่บ้าน/ชุมชนคืออาชีพอะไรบ้าง
- อาชีพล่าสัตว์ละเก็บของป่า
- ทำไร่ข้าว
ตั้งแต่เริ่มตั้งหมู่บ้าน/ชุมชนถึงปัจจุบัน ราษฎรมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง อาชีพดังกล่าวเริ่มเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ ปี พ.ศ. ใด เพราะเหตุใดจึงมีการเปลี่ยนแปลงอาชีพ
ก.อาชีพเดิมที่เลิกทำแล้ว คือ อาชีพ ล่าสัตว์ป่าและเก็บของป่า เลิกไปเพราะ สัตว์ป่าและของป่าหมดไป และการพัฒนาของชุมชนที่เจริญมากขึ้น เลิกเมื่อ ประมาณ พ.ศ.2500 อาชีพ ทำไร่ข้าวไร่ เลิกไปเพราะสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะต้องอาศัยน้ำฝนในการเพาะปลูกเลิกเมื่อ ประมาณ พ.ศ. 2509
ข.อาชีพใหม่ที่เพิ่มขึ้น
อาชีพ ทำนา เมื่อ ประมาณ ปี พ.ศ.2510
อาชีพ เลี้ยงสัตว์ เมื่อ ประมาณ ปี พ.ศ.2490
อาชีพ ทำสวน เมื่อ ประมาณ ปี พ.ศ.2520
อาชีพ ทำไร่ เมื่อ ประมาณ ปี พ.ศ.2510
อาชีพ ทำนา เมื่อ ประมา ปี พ.ศ.2510
การเปลี่ยนแปลงด้านสาธารณูปโภค เช่น ถนน ไฟฟ้า โรงเรียน มีเมื่อปี พ.ศ.ใด
ถนนเมื่อเริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน/ชุมชนมีสภาพแบบ ทางเดินเท้า
เป็นถนนลูกรัง เมื่อ พ.ศ. 2518 ยาว 10 กิโลเมตร
เป็นถนนลาดยาง เมื่อ พ.ศ. 2544 ยาว 2 กิโลเมตร
เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก เมื่อ พ.ศ. 2538 ยาว 1.2 กิโลเมตร
เป็นถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ เมื่อ พ.ศ. 2538 ยาว 5..3 กิโลเมตร
ถนนในหมู่บ้านทั้งหมดยาว 10 กิโลเมตร
ไฟฟ้าเข้าสู่หมู่บ้าน เมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532
ประปาหมู่บ้าน/ชุมชนสร้างเมื่อ ประปาภูเขา พ.ศ. 2524 ประปาหมู่บ้าน พ.ศ. 2538